“Fandom Marketing” กลยุทธ์การตลาดชวน “ใจฟู” ทั้งแบรนด์และลูกค้า

อาณาจักรแห่งความหลงใหลสู่กลยุทธ์การตลาดเจาะกลางใจผู้บริโภค

ก่อนที่เราจะรู้จักกับคำว่า “Fandom Marketing” เราคงต้องรู้จักกับคำว่า “แฟนด้อม” หรือ “ด้อม” เสียก่อน

โดยคำว่าแฟนด้อมมาจากคำ 2 คำ นั่นคือ Fan club + Kingdom ซึ่งสื่อถึงศูนย์รวมผู้ที่มีใจรักในสิ่งเดียวกันที่ให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่และเหนียวแน่นกว่าแค่ความเป็นแฟนคลับ และไม่ได้จำกัดแค่เฉพาะกับแวดวงศิลปินเกาหลีเท่านั้น แต่ยังรวมถึง ความสนใจในด้านอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ซีรีส์ เกม นักกีฬา หรือ นางงาม ฯลฯ

ด้วยเหตุนี้ “Fandom Marketing” จึงหมายถึงการทำการตลาดโดยอาศัยพลังแห่งความรักและความคลั่งไคล้ที่ “ชาวด้อม” มีต่อเจ้าของด้อมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การเพิ่มยอดขาย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งแตกต่างจากการทำตลาดแบบเจาะกลุ่มลูกค้าโดยยึดช่วงอายุ หรือเพศเป็นตัวตั้งเหมือนที่เราเคยเห็นกัน เช่น “ด้อมใจฟู” ของ “คัลแลน-พี่จอง” 2 ยูทูบเบอร์หนุ่มหล่อชาวเกาหลีใต้ จากช่อง Cullen HateBerry ที่ทำสยามแตกไปเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2566 จากการปรากฏตัวในกิจกรรมของผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งแคมเปญการตลาดแบบ “Fandom Marketing” ที่ได้รับเสียงตอบรับอย่างถล่มทลายเลยก็ว่าได้

ตอบโจทย์ยุคดิจิทัล

นอกจากนี้ การทำการตลาดแบบ Fandom Marketing ยังมีความเหมาะสมกับพฤติกรรมการเสพสื่อและคอนเทนต์ของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ที่มีการแบ่งกลุ่มแยกย่อยเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น

ทั้งยังช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ สามารถกำหนดรูปแบบการทำการตลาดได้ง่ายขึ้นจากกิจกรรมหรือวัฒนธรรมเฉพาะของแต่ละด้อมหรือจุดเด่นของเจ้าของด้อมที่แสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า ด้วยพลังแห่งรักและความคลั่งไคล้ของชาวด้อมทำให้ Fandom Marketing เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การตลาดที่น่าจับตาในยุคดิจิทัล และยังมีทีท่าว่าจะแรงต่อเนื่องในอนาคตอีกด้วย

>> อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Fandom Marketing ในภูมิทัศน์สื่อไทยปี 2567

Author

Author

Tanupat Piyarat, Sunita Phanraksa

ข่าวล่าสุด

Zero-Party Data กลยุทธ์ข้อมูลลูกค้าโดนใจทั้งผู้ให้และผู้รับ

Zero-Party Data คือ ข้อมูลส่วนตัวที่ลูกค้าเต็มใจมอบให้กับธุรกิจแต่ละรายโดยตรง โดยลูกค้าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการให้ข้อมูลของตนเอง

Read More »

นิสิต ป. โท นิเทศจุฬาฯ (Data Studies) เยี่ยมชมและเข้าฟังบรรยายที่ดาต้าเซ็ต

ดาต้าเซ็ตได้มีโอกาสต้อนรับน้องๆ นิสิตปริญญาโท กลุ่มวิชาวารสารศาสตร์ นโยบาย และดาต้าศึกษา (Journalism, Media Policy and Data Studies) จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Read More »

เปิดตำรา Gamification Marketing จุดบรรจบของ “เกม” และ “การตลาด”

เมื่อลูกค้าบางรายมักจะซื้อสินค้าด้วย “อารมณ์” มากกว่า “เหตุผล” หน้าที่กระตุกต่อมความอยากของผู้ซื้อจึงตกเป็นของเหล่าผู้ขาย หนึ่งในกลยุทธ์ที่น่าจะตอบโจทย์การกระตุ้นลูกค้าให้เข้าม…

Read More »

กลยุทธ์ธุรกิจ “Customer Experience” ลูกค้าเก่าติดใจ ลูกค้าใหม่เข้าหา

Customer Experience หรือ CX คือ ความประทับใจหรือประสบการณ์ของลูกค้าที่มีต่อสินค้าหรือบริการของแบรนด์ ตั้งแต่ก่อนการใช้งาน ระหว่างการใช้งาน ไปจนถึงหลังการใช้งาน

Read More »

Media Fragmentation จากยุคสื่อแมส สู่สื่อเฉพาะทาง คอนเทนต์เฉพาะตัว

Fragmentation คือ การที่คนดูหรือผู้เสพสื่อกระจายออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามความสนใจเฉพาะตัวของตนเอง เนื่องจากช่องทางเสพสื่อมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ครีเอเตอร์ทำคอนเทนต์ที่เจาะจงกลุ่มตามความสนใจเฉพาะตัวมากข…

Read More »

ดาต้าเซ็ตได้รับเชิญแบ่งปันความรู้แก่นิสิต ภาควิชาสถิติ – จุฬาฯ

ดาต้าเซ็ตได้ร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในด้าน Social Listening และ Media Intelligence กับนิสิตภาควิชาสถิติ จุฬาฯ

Read More »