Media Fragmentation จากยุคสื่อแมส สู่สื่อเฉพาะทาง คอนเทนต์เฉพาะตัว

ในยุคสื่อมวลชนนั้น ความแมสของคอนเทนต์ได้กระจายวงไปยังผู้เสพสื่อผ่านทางทีวี วิทยุ และหนังสือพิมพ์ เรียกได้ว่า มีช่องทางการนำเสนอคอนเทนต์น้อย แต่เข้าถึงคนหมู่มาก แต่ในยุคดิจิทัลที่มีทั้งอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นยูทูบ เฟซบุ๊ก ติ๊กต๊อก (TikTok) ที่มีคอนเทนต์ให้ดูมากมาย ทำให้ผู้คนมีทางเลือก “ที่หลากหลาย” และกลายเป็นต่างคนต่างดูเฉพาะคอนเทนต์ที่ตนเองสนใจ

รูปแบบการดูคอนเทนต์เช่นนี้ คือ Fragmentation หรือ การที่ช่องทางเสพสื่อมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้คนดูหรือผู้เสพสื่อกระจายออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามความสนใจเฉพาะตัวของตนเอง แพลตฟอร์มสื่อมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ส่วนครีเอเตอร์ก็จะทำคอนเทนต์ที่เจาะจงกลุ่มผู้เสพที่มีความสนใจเฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น

เมื่อความสนใจของผู้เสพคอนเทนต์ในแต่ละแพลตฟอร์มมีความเฉพาะตัวเช่นนี้ คำกล่าวที่ว่า “รู้จักก็ไม่ผิด ไม่รู้จักก็ไม่ผิด” ของ “คุณบอย” ถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ กลุ่มบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ที่กล่าวไว้ในรายงาน Thailand Media Landscape 2023-2024 นั้น สะท้อนให้เห็นว่า ความสนใจของผู้เสพคอนเทนต์ได้กระจายตัวไปทางช่องทางต่าง ๆ และสื่อเองก็นำเสนอคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มที่แยกย่อยสอดคล้องกับความสนใจของผู้ชม ดังนั้น คอนเทนต์ที่ได้รับความสนใจในคนกลุ่มหนึ่ง อาจจะไม่ได้รับความสนใจในอีกกลุ่มหนึ่ง “ก็เป็นได้”

" วันก่อนผมไปงานงานหนึ่งนะครับ ก็โอ้โห เซเลบริตีเต็มไปหมด คนไปงานก็ประมาณเกือบ 500 คน แล้วก็มีนักแสดงเกาหลีคนหนึ่งไป ก็จะมีกลุ่มคนที่กรี๊ดกร๊าดมาก แบบแทบจะเป็นลม แต่อีกกลุ่มก็ ‘เค้าคือใครอะ? ไม่รู้จัก’ มันชัดมากเลย คือ Target segmented มันแบ่งแยกกันมาก เพราะฉะนั้นไม่รู้จักก็ไม่ผิด รู้จักก็ไม่ผิด "

กลยุทธ์การปรับตัวของสื่อรับมือ Fragmentation

เมื่อผู้เสพสื่อ และสื่อแตกกลุ่มแยกย่อยเช่นนี้แล้ว ครีเอเตอร์จะรับมืออย่างไร คุณแท็ป “รวิศ หาญอุตสาหะ” ซีอีโอบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด และเจ้าของรายการ Mission to The Moon ได้แสดงความคิดเห็นไว้ในรายงาน Thailand Media Landscape 2023-2024 ว่า
“การทดลอง” ผลิตคอนเทนต์ในรูปแบบต่าง ๆ จะช่วยให้เราได้มาซึ่งคำตอบที่ว่า คอนเทนต์หลักที่เป็นจุดแข็งของรายการหรือสื่อ จะต้องผลิตออกมาอย่างไร นำเสนอและเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มสื่อแบบใดในช่วงเวลานั้น ๆ จึงจะสามารถดึงความสนใจและเข้าถึงผู้บริโภคได้

" เราทดลองตั้งแต่การทำคอนเทนต์ เพื่อดูว่า คอนเทนต์ประเภทไหนเป็นที่ชื่นชอบ รวมถึงรูปแบบการนำเสนอคอนเทนต์ เช่น วิดีโอสั้น เราก็พยายามทำอะไรที่คนดูชอบ เวิร์กบ้างไม่ดีบ้างปนกันไป การเติบโตของตัวสื่อมันอยู่ที่ว่าคอนเทนต์นั้นสอดคล้องกับสิ่งที่คนตามหาอยู่ตอนนั้นหรือเปล่า "

แม้ว่า การแบ่งแยกย่อยของแพลตฟอร์มสื่อและความสนใจของผู้เสพสื่อที่มีความเฉพาะตัวมากขึ้นจะเป็นเรื่องที่ท้าทาย ในทางกลับกัน Fragmentation ที่เกิดขึ้นนี้ก็ถือเป็นโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวและมีความหมายมายิ่งขึ้นระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค

Author picture

By Pasit Ounmaettachit, Sunita Phanraksa

ข่าวล่าสุด

Zero-Party Data กลยุทธ์ข้อมูลลูกค้าโดนใจทั้งผู้ให้และผู้รับ

Zero-Party Data คือ ข้อมูลส่วนตัวที่ลูกค้าเต็มใจมอบให้กับธุรกิจแต่ละรายโดยตรง โดยลูกค้าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการให้ข้อมูลของตนเอง

Read More »

นิสิต ป. โท นิเทศจุฬาฯ (Data Studies) เยี่ยมชมและเข้าฟังบรรยายที่ดาต้าเซ็ต

ดาต้าเซ็ตได้มีโอกาสต้อนรับน้องๆ นิสิตปริญญาโท กลุ่มวิชาวารสารศาสตร์ นโยบาย และดาต้าศึกษา (Journalism, Media Policy and Data Studies) จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Read More »

เปิดตำรา Gamification Marketing จุดบรรจบของ “เกม” และ “การตลาด”

เมื่อลูกค้าบางรายมักจะซื้อสินค้าด้วย “อารมณ์” มากกว่า “เหตุผล” หน้าที่กระตุกต่อมความอยากของผู้ซื้อจึงตกเป็นของเหล่าผู้ขาย หนึ่งในกลยุทธ์ที่น่าจะตอบโจทย์การกระตุ้นลูกค้าให้เข้าม…

Read More »

กลยุทธ์ธุรกิจ “Customer Experience” ลูกค้าเก่าติดใจ ลูกค้าใหม่เข้าหา

Customer Experience หรือ CX คือ ความประทับใจหรือประสบการณ์ของลูกค้าที่มีต่อสินค้าหรือบริการของแบรนด์ ตั้งแต่ก่อนการใช้งาน ระหว่างการใช้งาน ไปจนถึงหลังการใช้งาน

Read More »

Media Fragmentation จากยุคสื่อแมส สู่สื่อเฉพาะทาง คอนเทนต์เฉพาะตัว

Fragmentation คือ การที่คนดูหรือผู้เสพสื่อกระจายออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามความสนใจเฉพาะตัวของตนเอง เนื่องจากช่องทางเสพสื่อมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ครีเอเตอร์ทำคอนเทนต์ที่เจาะจงกลุ่มตามความสนใจเฉพาะตัวมากข…

Read More »

ดาต้าเซ็ตได้รับเชิญแบ่งปันความรู้แก่นิสิต ภาควิชาสถิติ – จุฬาฯ

ดาต้าเซ็ตได้ร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในด้าน Social Listening และ Media Intelligence กับนิสิตภาควิชาสถิติ จุฬาฯ

Read More »