เปิดตำรา Gamification Marketing จุดบรรจบของ “เกม” และ “การตลาด”

เปิดตำรา Gamification Marketing จุดบรรจบของ "เกม" และ "การตลาด"

เมื่อลูกค้าบางรายมักจะซื้อสินค้าด้วย “อารมณ์” มากกว่า “เหตุผล” หน้าที่กระตุกต่อมความอยากของผู้ซื้อจึงตกเป็นของเหล่าผู้ขาย หนึ่งในกลยุทธ์ที่น่าจะตอบโจทย์สำหรับการกระตุ้นลูกค้าให้เข้ามามีส่วนร่วมและซื้อโดยไม่ต้องคิดถึงเรื่องเหตุผลเท่าไรนัก คือ “Gamification Marketing” ที่ได้ผสมผสานความเป็น “เกม” เข้ากับ “การตลาด” พลิกโฉมการเสนอขายแบบธรรมดาสู่การท้าทายให้ “ซื้อ”

รู้จัก Gamification Marketing

Gamification Marketing คือการนำองค์ประกอบของเกม (Game element) มาใช้ในการออกแบบกิจกรรมส่งเสริมการขายและการมีส่วนร่วมระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการนับคะแนน การเลื่อนขั้น (Level) การมอบหมายภารกิจ การนำเสนอข้อมูลแบบหมุดหมาย (Milestone) การจับเวลานับถอยหลัง หรือการมอบรางวัลเมื่อบรรลุเป้าหมาย โดยกิจกรรมนั้น ๆ จะต้องมีเป้าหมายและวิธีการบรรลุเป้าหมายให้เห็นอย่างชัดเจน รวมถึงการวัดและประเมินความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าการกระทำของตนไม่สูญเปล่า

ทำไมต้อง Gamification Marketing

เพราะมนุษย์ต่างต้องการชีวิตที่มีสีสันและการประสบความสำเร็จ ...แน่นอนว่าลูกค้าเองก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเช่นเดียวกัน และไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัย “เกม” ก็ยังคงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการสร้างความรู้สึกเหล่านั้น

ด้วยเหตุนี้กลยุทธ์การตลาด “Gamification Marketing” จึงมีส่วนช่วยเปลี่ยนการซื้อสินค้าให้ดูเป็นเรื่องของการกระทำเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายและความน่าตื่นเต้นมากกว่าจะที่จะเป็นเรื่องเงินทอง และดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

ใช้กลยุทธ์ Gamification Marketing อย่างไร

แน่นอนว่าแต่ละแบรนด์มีวิธีการใช้กลยุทธ์ Gamification Marketing ในรูปแบบที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมของสินค้าหรือบริการ โดยแบรนด์ด้านอีคอมเมิร์ซอาจใช้การนำเสนอข้อมูลแบบหมุดหมายเพื่อสร้างเป้าหมายให้กับลูกค้า เช่น การนำเสนอจำนวนครั้งที่ลูกค้าซื้อสินค้าเทียบกับจำนวนสินค้าที่ต้องซื้อเพื่อให้ได้รางวัลพิเศษหรือส่วนลด ขณะที่แบรนด์เกี่ยวกับอุปกรณ์กีฬาอาจมอบภารกิจนับก้าวเดินแบบจำกัดระยะเวลาให้กับลูกค้า เพื่อแลกกับคะแนนสะสมที่สามารถนำไปใช้ซื้อสินค้าได้


นอกจากนี้ แบรนด์ยังสามารถใช้กลยุทธ์ Gamification Marketing เพื่อช่วยให้การเก็บข้อมูลของลูกค้าง่ายขึ้นด้วยการเปลี่ยนแบบสอบถามที่ดูน่าเบื่อให้กลายเป็นเกมตอบคำถามชิงรางวัลแสนสนุก หรือส่งเสริมการรับรู้แบรนด์ด้วยให้ลูกค้าแชร์พร้อมติดแฮชแท็กเพื่อลุ้นสิทธิพิเศษต่าง ๆ ได้อีกด้วย

จะเห็นได้ว่า Gamification Marketing เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สามารถพลิกแพลงได้อย่างหลากหลาย ทั้งยังช่วยกระตุ้นการซื้อได้อย่างสนุกสนานอีกด้วย

Author picture

By Tanupat Piyarat , Sunita Phanraksa

ข่าวล่าสุด

Zero-Party Data กลยุทธ์ข้อมูลลูกค้าโดนใจทั้งผู้ให้และผู้รับ

Zero-Party Data คือ ข้อมูลส่วนตัวที่ลูกค้าเต็มใจมอบให้กับธุรกิจแต่ละรายโดยตรง โดยลูกค้าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการให้ข้อมูลของตนเอง

Read More »

นิสิต ป. โท นิเทศจุฬาฯ (Data Studies) เยี่ยมชมและเข้าฟังบรรยายที่ดาต้าเซ็ต

ดาต้าเซ็ตได้มีโอกาสต้อนรับน้องๆ นิสิตปริญญาโท กลุ่มวิชาวารสารศาสตร์ นโยบาย และดาต้าศึกษา (Journalism, Media Policy and Data Studies) จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Read More »

เปิดตำรา Gamification Marketing จุดบรรจบของ “เกม” และ “การตลาด”

เมื่อลูกค้าบางรายมักจะซื้อสินค้าด้วย “อารมณ์” มากกว่า “เหตุผล” หน้าที่กระตุกต่อมความอยากของผู้ซื้อจึงตกเป็นของเหล่าผู้ขาย หนึ่งในกลยุทธ์ที่น่าจะตอบโจทย์การกระตุ้นลูกค้าให้เข้าม…

Read More »

กลยุทธ์ธุรกิจ “Customer Experience” ลูกค้าเก่าติดใจ ลูกค้าใหม่เข้าหา

Customer Experience หรือ CX คือ ความประทับใจหรือประสบการณ์ของลูกค้าที่มีต่อสินค้าหรือบริการของแบรนด์ ตั้งแต่ก่อนการใช้งาน ระหว่างการใช้งาน ไปจนถึงหลังการใช้งาน

Read More »

Media Fragmentation จากยุคสื่อแมส สู่สื่อเฉพาะทาง คอนเทนต์เฉพาะตัว

Fragmentation คือ การที่คนดูหรือผู้เสพสื่อกระจายออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามความสนใจเฉพาะตัวของตนเอง เนื่องจากช่องทางเสพสื่อมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ครีเอเตอร์ทำคอนเทนต์ที่เจาะจงกลุ่มตามความสนใจเฉพาะตัวมากข…

Read More »

ดาต้าเซ็ตได้รับเชิญแบ่งปันความรู้แก่นิสิต ภาควิชาสถิติ – จุฬาฯ

ดาต้าเซ็ตได้ร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในด้าน Social Listening และ Media Intelligence กับนิสิตภาควิชาสถิติ จุฬาฯ

Read More »