อุ๊งอิ๊ง ยก “ช็อกมินต์” อธิบายซอฟต์พาวเวอร์ โซเชียลถกกันสนุก ใช่จริงหรือ ?

“ช็อกมินต์” เครื่องดื่มสุดโปรดของ อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง ควบคู่ไปกับประเด็น “ซอฟต์พาวเวอร์” (Soft Power) หลังจากเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 66 มีการประชุม สส. พรรคเพื่อไทย กับ น.ส.แพทองธาร หัวหน้าพรรค รวมถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และมีการยกตัวอย่างช็อกมินต์เป็นซอฟต์พาวเวอร์อย่างหนึ่ง

โดย น.ส. แพทองธาร กล่าวถึงกระแสที่มีคนพูดกันมากถึงความเข้าใจที่แท้จริงต่อ Soft Power จึงอธิบายให้ที่ประชุมพรรคเข้าใจ ว่า

“Soft Power เป็นเหมือนพลังอำนาจหนึ่ง หรือ “อำนาจละมุน” ไม่ต้องการใช้อาวุธ หรืออะไรที่รุนแรง เป็นการใช้ Soft Power ให้ชนะใจ หรือเข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมนั้น ๆ โอบรับวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เข้ามา อย่างช็อกมินต์ก็ได้ ยกตัวอย่างง่ายที่สุด พอเกิดความฮิต ความนิยมขึ้น ช็อกมินต์ขายดีขึ้นมา อันนั้น คือ วัฒนธรรมที่ถูกโอบรับโดยคนไทยในประเทศเอง แน่นอนค่ะ อันนั้นคือเศรษฐกิจภาพเล็ก คือภาคของร้านค้า ก็เกิดมูลค่าขึ้นมากมาย แต่ Soft Power ที่เราทำอยู่ในขณะนี้ เราต้องการจะผลักดันสิ่งเหล่านั้นให้มันเป็น Global มากขึ้น ไม่ใช่แค่หัวข้อของช็อกมินต์เท่านั้น แต่เป็นหัวข้อของ 11 อุตสาหกรรมที่เราแถลงไปแล้ว…….”

กลายเป็นกระแสที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ และ ถกเถียงกันในโซเชียลมีเดียว่า ช็อกมินต์ เป็นซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) จริงหรือ? บางคนให้ความเห็นว่าช็อกมินต์เป็นแค่กระแส หรือ ไวรัล ตะหาก ไม่ใช่ Soft Power

“ช็อกมินต์” เป็นเครื่องดื่มที่ประเทศไหน ๆ ก็ทำได้ ไม่ใช่ของไทย

ช็อกมินต์ ไม่น่าถึงขั้นเป็นซอฟต์พาวเวอร์ แค่ชอบในกลุ่มเล็กๆ ที่ฝักใฝ่การเมืองบางพรรคแค่นั้นเอง

กรณีรายการ Suthichai live ของคุณสุทธิชัย หยุ่น ก็มีการพูดคุยถึงประเด็นนี้ โดยระบุว่าถ้าจะตีความ Soft Power ในความหมายเดียวกับคุณอุ๊งอิ๊ง เครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมอย่างยาวนานของไทยต้อง “โอเลี้ยง” “โอยัวะ” หรือ “ชาชัก” ของภาคใต้ ถึงจะเป็นซอฟต์พาวเวอร์แบบไทย ทำไมต้องเป็นช็อกมินต์ ที่เป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมหลักเป็นช็อกโกแลต + มินต์ ซึ่งไม่ใช่ของไทย

อย่างไรก็ตาม ก็มีบางความเห็นว่า อุ๊งอิ๊ง แค่ยกตัวอย่างในระดับเล็กๆ ให้ลองฟังจริงๆ และไม่ bias

Word Cloud โดย ดาต้าเซ็ต (Dataxet) ผู้ให้บริการ Media Intelligence รวบรวมการจับกลุ่มคำบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก (Facebook) ช่วงวันที่ 6 พ.ย. 2566 พบว่ามีการโพสต์พูดคุยเกี่ยวกับประเด็นซอฟต์พาวเวอร์เป็นจำนวนมากจนติด Word Cloud หรือ กลุ่มคำที่มีการกล่าวถึงบนเฟซบุ๊กตลอดวันดังกล่าว

ดราม่า #SoftPower สัปเหร่อเพิ่งซา หลัง “ต้องเต” พูดตรงจนถูกมองว่า “แรง”

ก่อนหน้านี้ ไม่กี่วัน “ซอฟต์พาวเวอร์” (Soft Power) เพิ่งเป็นประเด็นดราม่าที่ถูกพูดถึงบนโซเชียลมีเดียอย่างร้อนแรง เมื่อ “ต้องเต-ธิติ ศรีนวล” ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง “สัปเหร่อ” ไปร่วมเสวนา “จากจักรวาลไทบ้านสู่พลังอีสานสร้างสรรค์” ที่ช่องไทยพีบีเอส โดยมีบางช่วงบางตอน “ต้องเต” ตอบคำถามพิธีกรประเด็นที่เกี่ยวกับซอฟต์พาวเวอร์ว่า

“…ผมคาดหวังว่าเรื่องต่อ ๆ ไป ไม่ใช่แค่ของผม อยากให้มาสนับสนุนจริง ๆ หน่อย ไม่ใช่แค่มาถ่ายรูป คุณอาจจะไม่ได้เข้าใจหนังสัปเหร่อจริง ๆ เลยก็ได้ แค่มาถ่ายรูปแล้วบอกว่า “หนังสัปเหร่อ” เป็นซอฟต์พาวเวอร์”

หลังจากนั้นก็เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากมายตลอดวันบนโซเชียลมีเดีย เพราะหลายคนอดเชื่อมโยงไม่ได้ว่าเป็นการพูดถึงภาครัฐ ที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะรัฐมนตรีเพิ่งไปร่วมชมสัปเหร่อ พร้อมถ่ายรูปร่วมกับ “ต้องเต” ผู้กำกับฯ

ร้อนถึงตัวแทนรัฐบาลรีบชี้แจงประเด็นดังกล่าวผ่านสื่อโซเชียลว่า รัฐบาลเพิ่งเข้ามาผลักดันนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ไม่ได้คิดจะเคลมผลงานใดๆ จากความสำเร็จของหนังสัปเหร่อ

ทางด้าน “ต้องเต” เองก็ออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านรายการกรรมกรข่าวคุยนอกจอในอีกวันว่า ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดดราม่ากับสิ่งที่ตนได้พูดไปเพราะตนกล่าวโดยไม่เข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานของภาครัฐ พร้อมขอโทษที่ใช้คำพูดที่ดูรุนแรง และเรียบเรียงได้ไม่ดีอย่างที่ตั้งใจจะสื่อจริง ๆ เพราะมีเจตนาอยากช่วยเป็นกระบอกเสียงในการขับเคลื่อนให้ภาครัฐสนับสนุนภาพยนตร์ไทยให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ซอฟต์พาวเวอร์ คืออะไร

ข้อมูลจากหอสมุดรัฐสภาระบุไว้เมื่อปี 2565 ว่า Soft Power เป็นแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ศาสตราจารย์โจเซฟ ไนย์ (Joseph S. Nye) อาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด อธิบายไว้ว่า “Soft Power” (อำนาจละมุน) หมายถึง ความสามารถในการชักจูงใจ ทำให้ผู้อื่นมีความพึงพอใจหรือเต็มใจเปลี่ยนพฤติกรรม ยอมรับ คล้อยตามสิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้อำนาจ โดยกลไกหลักที่สำคัญในการใช้ Soft Power คือ การสร้างความดึงดูดใจต่อผู้อื่น และผลจากการใช้ Soft Power ต้องเกิดจากการดึงดูดใจที่ชักจูงให้คล้อยตามโดยปราศจากการคุกคามหรือการแลกเปลี่ยนสิ่งใด

สำหรับประเทศไทยมีวัฒนธรรมซึ่งเป็นแหล่งที่มาของ Soft Power ที่เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมในต่างประเทศ เช่น นาฏศิลป์ไทย อาหารไทย มวยไทย และภาพยนตร์ไทย ซึ่งรัฐบาลไทยมีนโยบายในการผลักดัน “Soft Power” โดยเฉพาะอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ 5 F ได้แก่ อาหาร (Food) ภาพยนตร์ (Film) ผ้าไทยและการออกแบบ (Fashion) มวยไทย (Fighting) และเทศกาลประเพณี (Festival) สู่ระดับโลก

อ้างอิงข้อมูล: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, หอสมุดรัฐสภา เรื่อง Soft Power

ข่าวเกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ธันวาคมอีเวนต์ฉ่ำ ชาวเน็ตแซวแยกร่างไม่ถูก เที่ยวไหนดี

วันนี้หลายคนน่าจะไปต่อคิวอยู่ที่ร้านสตาร์บัคส์ (Starbucks) เพราะมีโปร 1 แถม 1 ที่เหลือไปคอนเสิร์ตเจย์โชว์ (Jay Chou) ร่วมงานกาชาด 100 ปี และ อย่าลืมแวะดูพลุที่สะพานพุทธ เที่ยวงานวิจิตรเจ้าพระยา…

Read More »

ผลสอบ “PISA 2022” สะท้อนวิกฤตการศึกษา โซเชียลถามหาแอ็คชั่นจะแก้ยังไง ?

ผลการประเมิน PISA 2022 ช็อควงการศึกษาไทย พบเด็กไทยคะแนนเฉลี่ยร่วงลงเป็นประวัติการณ์ทั้ง 3 ด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ การอ่าน โดยมีอันดับอยู่ด้านล่างของตารางโลกและอาเซียน โซเชียลถามหาแอ็คชั่นจากรั…

Read More »

ชาวเน็ตอาลัย “หมอกฤตไท” ดัน #สู้ดิวะ ขึ้นเทรนด์

โซเชียลร่วมอาลัย “หมอกฤตไท” ติดแฮชแท็ก #หมอกฤตไท #สู้ดิวะ ทำขึ้นเทรนด์ทุกแพลตฟอร์ม ยกเรื่องราวหมอกฤตไทเป็นแรงบันดาลใจและส่งต่อเป็นพลังให้สังคม การจากไปของหมอกฤตไท หรือ นพ.กฤตไท…

Read More »

เงินดิจิทัล ชาวบ้าน “ว้าว” หรือ “วุ่น” !?

ฟังเสียงประชาชนคิดเห็นอย่างไรต่อโครงการ “ดิจิทัลวอลเล็ต” !? “อินโฟเควสท์” ได้ลงพื้นที่สำรวจความเห็นของประชาชนและร้านค้าส่วนหนึ่งในกรุงเทพมหานคร หากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเริ่มใช้…

Read More »

เศรษฐกิจไทยวิกฤตหรือไม่? ใครถูก!!

เศรษฐกิจไทยวิกฤตหรือไม่? ขณะนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง หลังสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/66 โตได้เพียง 1.5%…

Read More »

แอปธนาคารล่ม! ปัญหาโลกแตก ชาวเน็ตถกหาวิธีรับมือ

ปรากฎการณ์แอปธนาคารล่ม! ช่วงสิ้นเดือน วิบากกรรมของคนรับเงินเดือนผ่านแบงก์ กรณีเมื่อวานนี้ (30 พ.ย.) ที่ทำให้ชาวเน็ตพากันเดือด ส่งเสียงวิจารณ์กันสนั่นในโซเชียลมีเดีย ส่งผลให้แฮชแท็ก #scbล่ม…

Read More »