ส่องเทรนด์ธุรกิจ “กัญชา-กัญชง” บนสื่อโซเชียล

กระแสของกัญชากลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง หลังจากที่มีแนวโน้มว่าโฉมหน้ารัฐบาลชุดใหม่จะมีพรรคภูมิใจไทยรวมอยู่ในสมการนั้นด้วย หลังจากที่ชะงักไปบ้างเมื่อครั้งการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล ที่ใน MOU ระบุจะนำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษโดยมีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชา ซึ่งเท่ากับว่านโยบายกัญชาเสรี ของรัฐบาลชุดที่แล้วซึ่งผลักดันโดยพรรคภูมิใจไทยมีแนวโน้มว่าจะได้ไปต่อ

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า นโยบายการเปิดเสรีกัญชามีทั้งคุณและโทษ หลายเรื่องยังเป็นข้อถกเถียงที่ยังไม่ได้ข้อสรุปในสังคมไทย โดยเฉพาะประเด็นทางด้านสังคมและระบบสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบจากการปลดล็อกกัญชาโดยไม่มีการควบคุมและยังไม่มีมาตรการรองรับอย่างรอบด้าน

แต่หากพิจารณาในด้านเศรษฐกิจ กัญชาเป็นพืชที่สามารถทำรายได้ได้จริง จากข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งมีการประเมินมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง ณ ปี 2565 นับตั้งแต่ต้นน้ำถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ มีมูลค่ารวมถึงกว่า 28,000 ล้านบาท แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำมูลค่า 9,615 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์กลางน้ำ 14,690 ล้านบาท ส่วนผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ 3,750 ล้านบาท แบ่งเป็น ยารักษาโรคและอาหารเสริม มูลค่า 1,500 ล้านบาท อาหารและเครื่องดื่ม 1,200 ล้านบาท เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล 800 ล้านบาท เครื่องนุ่งห่มและของใช้ส่วนตัว 250 ล้านบาท และยังมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดในอีก 2 ปีข้างหน้า จะโตได้ 10-15% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 42,800 ล้านบาท

และจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในสังคมออนไลน์โดยใช้เครื่องมือ DXT360 ของ บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ที่มีการกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2566 พบว่ามีการพูดถึงทั้งหมด 902 ข้อความ และได้รับการมีส่วนร่วม หรือ Engagement ถึง 12,358 ครั้ง ซึ่งเห็นได้ว่าผู้คนบนสังคมออนไลน์ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับกัญชา-กัญชงไม่น้อย และถ้าดูจากสัดส่วนการโพสต์ลงบนโซเชียล แยกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้

สัดส่วนการโพสต์ลงบนโซเชียล แยกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์

  • ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย มีการโพสต์ขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ภายในประเทศและต่างประเทศ ที่ใช้ส่วนประกอบอย่างเส้นใยของกัญชามาช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้มีความแข็งแรงขึ้น โดยพบว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มีสัดส่วนการโพสต์บนโลกออนไลน์มากที่สุดคิดเป็น 57.43%
  • ผลิตภัณฑ์ยา/การแพทย์ มีการโพสต์ส่วนใหญ่เป็นการใช้สารสกัดจากน้ำมันกัญชามาใช้เป็นส่วนประกอบของยาเพื่อการรักษาต่าง ๆ เช่น ประกอบการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง รักษาอาการปวดท้อง และรักษาอาการปวดเรื้อรัง เป็นต้น โดยสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีถึง 27.05%
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีการโพสต์ขายผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและการทำความสะอาดโดยใช้ส่วนประกอบเป็นสารสกัดน้ำมันจากเมล็ดกัญชง เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว สบู่ และยาสระผม เป็นต้น ซึ่งสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีมากที่สุดคิดเป็น 8.43%
  • ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม พบว่ามีการนำกัญชามาเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นขนม ผงเครื่องดื่ม และเครื่องดื่มบรรจุขวด ซึ่งส่วนผสมที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสารสกัดน้ำมันกัญชาและใบกัญชา โดยสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีมากที่สุดคิดเป็น 6.54%
  • ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ นอกจากผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ข้างต้น พบว่ามีการโพสต์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 0.55% เช่น สินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง คือ อิฐ และ เฮมป์พาร์ทิเคิลบอร์ด หรือแผ่นกั้นผนังห้อง เป็นต้น ซึ่งในอนาคตอาจมีแนวโน้มว่าจะมีการนำสารสกัดจากกัญชาและกัญชงมาใช้แปรรูปหรือพัฒนาเป็นสินค้าหรือนวัตกรรมที่มีความหลากหลายในด้านของรูปแบบสินค้าและประเภทของสินค้ามากขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อดูความคิดเห็นบนโซเชียล พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

จากข้อมูลพบว่าผู้ใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์จะมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์ยา/การแพทย์ โดยมีการพูดถึงในเรื่องของการยอมรับการใช้กัญชามาประกอบการรักษามากขึ้นด้วย โดยเฉพาะการรักษาหรือบำบัดผู้ป่วยโรคมะเร็ง ถึงแม้ในความเป็นจริงจะยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์รองรับว่าสามารถรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งได้

แต่หากมองในมุมของผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่มพบว่า ผู้คนบนโซเชียลได้มีการแสดงความคิดเห็นที่สื่อถึงความกังวลและความคิดเห็นไปในทิศทางเชิงลบ โดยเฉพาะความกังวลในเรื่องการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารสกัดจากกัญชา-กัญชง ที่อาจได้รับเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือนำไปสู่การเสพติดไปจนถึงทำให้เกิดการเสียชีวิตได้

กล่าวได้ว่า นับแต่มีการปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 2565 และแนวโน้มการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่น่าจะมีพรรคภูมิใจไทยเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล การใช้กัญชาจึงยังคงอยู่ในสถานะที่ถูกเปิดช่องให้ใช้ได้อย่างเสรี โดยไม่ได้ถูกจำกัดเพียงการใช้ทางการแพทย์ ไปจนกว่าจะมีการออกมาตรการเพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้อย่างเหมาะสม เรื่องของกัญชาจึงได้กลายเป็นวาระในการถกเถียงของคนทุกระดับในสังคมไทย

ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาวิเคราะห์หา Insight รวบรวมผ่าน DXT360 แพลตฟอร์มติดตามข่าวสารและเสียงของผู้บริโภค (Social Listening) ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด (dataxet:infoquest) โดยเก็บข้อมูลระหว่าง 1 ก.ค. – 8 ส.ค. 66

By Kittiwat Sabphiphat and Kanisorn Rasrichai

By Kittiwat Sabphiphat and Kanisorn Rasrichai

Insight Data Analysts, Dataxet Limited

ข่าวเกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ดาต้าเซ็ตร่วมเปิดมุมมองวิชาชีพสารสนเทศ พร้อมเสริมศักยภาพนิสิต ม.บูรพา

ดาต้าเซ็ตได้รับเกียรติร่วมงาน “เสียงสะท้อนจากนายจ้าง ศิษย์เก่า และนิสิตปัจจุบัน กับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักสารสนเทศ” ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา

Read More »

เจาะกลยุทธ์แบรนด์แอมบาสเดอร์ ผ่านบทเรียน “มาม่า” และ “AIS”

ท่ามกลางกระแสการใช้ KOL ทำการตลาด แบรนด์ยังคงมีคำถามว่า การลงทุนกับแบรนด์แอมบาสเดอร์นั้นคุ้มค่าจริงหรือไม่? และมีปัจจัยใดบ้างที่ควรคำนึงถึงในการเลือกใช้กลยุทธ์นี้?

Read More »

สำรวจเอเจนซี่โฆษณายุคดิจิทัล พร้อมรับมือและใช้ประโยชน์จาก AI

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังมา เอเจนซี่โฆษณาจะอยู่หรือไป แล้วเอเจนซี่ต้องตั้งเอเจนซี่ AI เพื่อรับมือกับการมา AI มั้ย นี่คือ หัวข้อการพูดคุยกันในกลุ่มเอเจนซี่โฆษณาว่าจะยังอยู่รอดหรือไม่ท่ามกลาง…

Read More »

ปลดล็อกพลัง AI ให้กับการตลาดยุคใหม่โดยผู้บริหาร Google Thailand

คำถามที่เรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ ที่ว่า “AI คืออะไร” แล้ว “จะใช้ AI อย่างไร” หรือคำถามที่หลายคนยังคงกังวลว่า “AI จะมาแทนที่เรารึเปล่า” คุณไอริณ ผู้บริหารของ Google…

Read More »

รู้ทัน 3 เทรนด์ AI ตัวช่วยปฏิวัติวงการให้กับแบรนด์และผู้บริโภค

AI หรือปัญญาประดิษฐ์เป็นประเด็นที่ร้อนแรงมาตลอด และเมื่อ AI มาแรงขนาดนี้แล้วผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมอย่างไรในยุค AI อคาเชีย เลอรอย (Acacia Leroy) Asia Lead จาก TrendWatching ได้กล่าวถึงบทบาทของ AI…

Read More »

“ขจร” RAiNMaker เปิดตำราสอนครีเอเตอร์ เอาใจ AI ยังไงให้ช่องเติบโต

ภาพรวมของวงการครีเอเตอร์ในปี 2024 ว่า เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากอัลกอริทึมของ Social Media Platform ต่าง ๆ ได้มีการปรับเปลี่ยน ขณะที่ความสนใจของผู้ใช้งานก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย…

Read More »