เช็คกระแสโซเชียล ก่อนโหวตนายกฯ

โซเชียลเดือด! จนเกิดแฮชแท็ก #กกตมีไว้ทำไม #ม็อบ12กรกฎาคม66 ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ หลังที่ประชุม กกต. มีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคุณสมบัติ ส.ส. ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) ประกอบมาตรา 101 (6) หรือไม่ จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นสื่อไอทีวี จำนวน 42,000 หุ้น

การเมืองไทยเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง นับจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่พรรคก้าวไกล และ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้รับคะแนนเสียงมากเป็นอันดับ 1 กว่า 14 ล้านเสียง และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล หลังจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่ปี 2557 รวมเป็นเวลาเกือบ 9 ปี

นับถอยหลังอีกเพียงไม่กี่ชั่วโมง กำหนดการประชุมรัฐสภา เพื่อโหวตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 ก.ค. 2566 ก็จะเริ่มต้นขึ้น ท่ามกลางกระแสบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีความคิดเห็นที่หลากหลาย ทั้งกองเชียร์ กองแช่ง

ทีม Insight ของ บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ได้รวบรวมความคิดเห็นในสังคมออนไลน์ผ่าน DXT360 แพลตฟอร์มติดตามข่าวสารและเสียงของผู้บริโภค (Social Listening) ระหว่างวันที่ 5-12 ก.ค. 2566 เพื่อฟังเสียงโซเชียลว่าพูดคุยในประเด็นใดบ้าง หรือ มีความคาดหวังต่อการเมืองและอนาคตของประเทศไทยอย่างไร ? ก่อนการโหวตนายกรัฐมนตรี สรุปได้ดังนี้

เสียงโซเชียลต่อความหวังก่อนโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30

1) อยากเห็น 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล สนับสนุนส่ง ‘พิธา’ เป็นนายกรัฐมนตรี (65.7%)
2) เรียกร้อง ส.ว. เคารพเสียงประชาชน, ให้ ส.ว. ทำหน้าที่และอำลาตำแหน่งอย่างภาคภูมิ (22.4%)
3) เรียกร้อง ส.ส. ขั้วตรงข้าม เป็น ส.ส. ปลดแอก โหวตสนับสนุน ‘พิธา’ แม้จะไม่ได้ร่วมรัฐบาลเพื่อปกป้องประชาธิปไตยให้เดินหน้า ( 6.9% )
4) ยินยอมให้พรรคก้าวไกลถอย 1 ก้าว ไม่แก้ไขมาตรา 112 เพื่อให้ได้รับโหวตเป็นนายกรัฐมนตรี ( 3.0%)
5) สิ้นหวัง..ยอมให้เกิดรัฐบาลเสียงข้างน้อย 1 ปี จนกว่า ส.ว. หมดวาระ ( 1.0%)
6) ลากยาว ‘โหวตนายก’ ไปเรื่อยๆ จนกว่าหมดวาระ ของ ส.ว. ( 1.0 %)

จากการฟังเสียงบนสังคมออนไลน์นอกจากประเด็นเรื่องการเมือง สิ่งที่น่าสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คือ ตัวตนของ ‘นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ที่ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในเชิงบวกหรือเชิงลบก็ตาม ‘พิธา’ เพียงคนเดียว สร้างมูลค่าทางสื่อ (Media Value) ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ไปแล้วกว่า 1,186 ล้านบาท และในฝั่งของโซเชียลมีเดียสร้าง Buzz (Mention และ Engagement) สูงถึง 5,019,891 ครั้ง คิดเป็นอัตราการเติบโต (Growth Rate) เพิ่มขึ้นกว่า 73.4% ในระหว่างวันที่ 5 - 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา

สุดท้ายแล้ว นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จะชื่อ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หรือไม่ ? ขึ้นอยู่กับผลการลงมติจากที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งทุกคนจะได้รู้พร้อมกันทั่วประเทศในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า

ข้อมูลบางส่วนที่นำมาวิเคราะห์หา Insight รวบรวมมาจาก DXT360 แพลตฟอร์มติดตามข่าวสารและเสียงของผู้บริโภค (Social Listening) ของ บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด

By Chareef Soudon, Sawita Bekanan, Panida Pinapang

By Chareef Soudon, Sawita Bekanan, Panida Pinapang

Insight Data Analysts, Dataxet Limited

ข่าวเกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รู้ใจลูกค้าแบบขั้นสุดด้วยกลยุทธ์ Hyper-personalization

Hyper-personalization คือ กลยุทธ์การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วย AI, อัลกอริทึม และข้อมูลจำนวนมหาศาลแบบเรียลไทม์ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ปรับมาให้ตรงใจลูกค้าแต่ละราย จึงแตกต่างจากกลยุทธ์ Personalization…

Read More »

ดาต้าเซ็ตเปิดบ้านต้อนรับนิสิต Information Studies มศว. ศึกษาดูงานการตลาดในองค์กรสารสนเทศธุรกิจ

ดาต้าเซ็ต เปิดบ้านต้อนรับนิสิตปริญญาตรี สาขาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มศว. เยี่ยมชมและศึกษาดูงานเกี่ยวกับ “การตลาดในองค์กรสารสนเทศธุรกิจ”

Read More »

Zero-Party Data กลยุทธ์ข้อมูลลูกค้าโดนใจทั้งผู้ให้และผู้รับ

Zero-Party Data คือ ข้อมูลส่วนตัวที่ลูกค้าเต็มใจมอบให้กับธุรกิจแต่ละรายโดยตรง โดยลูกค้าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการให้ข้อมูลของตนเอง

Read More »

นิสิต ป. โท นิเทศจุฬาฯ (Data Studies) เยี่ยมชมและเข้าฟังบรรยายที่ดาต้าเซ็ต

ดาต้าเซ็ตได้มีโอกาสต้อนรับน้องๆ นิสิตปริญญาโท กลุ่มวิชาวารสารศาสตร์ นโยบาย และดาต้าศึกษา (Journalism, Media Policy and Data Studies) จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Read More »

เปิดตำรา Gamification Marketing จุดบรรจบของ “เกม” และ “การตลาด”

เมื่อลูกค้าบางรายมักจะซื้อสินค้าด้วย “อารมณ์” มากกว่า “เหตุผล” หน้าที่กระตุกต่อมความอยากของผู้ซื้อจึงตกเป็นของเหล่าผู้ขาย หนึ่งในกลยุทธ์ที่น่าจะตอบโจทย์การกระตุ้นลูกค้าให้เข้าม…

Read More »

กลยุทธ์ธุรกิจ “Customer Experience” ลูกค้าเก่าติดใจ ลูกค้าใหม่เข้าหา

Customer Experience หรือ CX คือ ความประทับใจหรือประสบการณ์ของลูกค้าที่มีต่อสินค้าหรือบริการของแบรนด์ ตั้งแต่ก่อนการใช้งาน ระหว่างการใช้งาน ไปจนถึงหลังการใช้งาน

Read More »